วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

นิทานอีสป เรื่องจริงที่พบได้ในองค์กรคุณ

ผมได้รับ Presentation นี้จากเพื่อนมาอีกที ก็เลยอยากแชร์มุมมองของผมครับ และยินดีถ้าหากมีท่านผู้ใดอยากแชร์ความคิดด้วยก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านครับ























เป็น Presentation ที่ดีและน่าสนใจมากครับ ในมุมมองของผมในฐานะที่ทำงานในด้านบริหารทรัพยากรบุคคลมากกว่า 13 ปี ขอวิเคราะห์องค์กรนี้เบื้องต้นในมุมมองของการพัฒนาองค์กรดังนี้ครับ

1. องค์กร (สิงห์โต) ขาดการตั้งวิสัยทัศน์ (Vision) ที่จะนำองค์กรและทุกคนให้เห็นเป้าหมายร่วมกัน ทำให้คนที่ทำงานวัดผลงานกันที่ใครทำงานหนักกว่ากัน ไม่ใช่งานที่สอดคล้องและสนับสนุนต่อการเจริญเติบโตขององค์กร ซึ่งการขาดวิสัยทัศน์นี้ก็คล้ายกับการที่เรานั่งในรถยนต์ไปด้วยกันโดยที่ทุกคนในรถไม่รู้ว่ากำลังจะเดินทางไปที่ไหน รู้เพียงแต่ว่าขับไปข้างหน้าอย่างเดียว ตอนขับรถออกไปแรกๆ ก็รู้สึกตื่นเต้นกระฉับกระเฉงเพราะรู้ว่ารถกำลังเคลื่อนไปข้างหน้า แต่พอผ่านไปได้สักพักแต่ละคนก็เริ่มเบื่อ งอแง หรือแม้กระทั่งการโต้เถียงกันเมื่อเวลาขับรถผิดพลาดไปชนหรือมีอุบัติเหตุเข้า เพราะฉะนั้นหากผู้นำองค์กรบอกทุกคนว่าเรากำลังจะไปที่ไหน จะเริ่มมีการเตรรียมการที่ดี มีการช่วยกันคิดช่วยกันทำงานเพื่อให้รถสามารถขับเคลื่อนไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้



2. องค์กรนี้ขาดการวางแผนด้านทรัพยากรบุคคลที่ดี (Human Resources Planning) เพราะการที่จะมีการจ้างงานใหม่สัก 1 ตำแหน่งไม่ใช่ใครเห็นว่าอยากจะมีตำแหน่งงานไหนก็ขอกันขึ้นมา การวางแผนด้านกำลังคนที่ดีจะต้องมีการวิเคราะห์ก่อนว่าตำแหน่งงานใหม่นี้มีมาเพื่ออะไร และจะสร้างประโยชน์และมีความสำคัญต่อองค์กรอย่างไร ไม่ใช่การจ้างคนเพื่อมาช่วยงานคน จะต้องจ้างคนเพื่อมาทำกำไรหรือทำให้องค์กรสามารถพัฒนาได้



3. องค์กรนี้ขาดระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นที่ยอมรับของคนในองค์กรและส่งเสริมให้องค์กรเติบโต หากคนที่ทำงานในองค์กรมีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดีจะทำให้ทุกคนทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำงานที่ตั้งไว้ขององค์กร มิใช่การทำงานเพื่อสร้างผลงานให้คนไม่กี่คนในองค์กรพอใจ



4. พนักงานในองค์กรขาดการพัฒนาและฝึกอบรมให้มีศักยภาพในการทำงานที่ดีขึ้น (Human Resource Development) บทบาทของคนที่ทำงานในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่จะเข้าไปมีส่วนช่วยในการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของพนักงานแต่ละคน แล้วพยายามให้เขารักษาและแบ่งปันจุดแข็งของเขาให้คนในองค์กร ส่วนสิ่งที่เป็นจุดอ่อนก็ย่อมต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น เพื่อให้เขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น ซึ่งหากพนักงานได้รับการพัฒนาที่ดีแล้วเขาก็จะสามารถทำงานได้มากขึ้นทั้งในแนวดิ่งและแนวขวาง ซึ่งแนวดิ่งก็คือเขาก็พร้อมมากขึ้นในการรับผิดชอบงานในตำแหน่งงานที่สูงขึ้น และแนวขวางก็คือการที่เขาทำงานได้มากกว่า 1 ด้าน เช่น คนที่ทำงานด้านบัญชีก็อาจสามารถขยายไปรับผิดชอบงานด้านการเงิน จัดซื้อ และการวางแผนงบประมาณได้



5. ผู้บริหารขององค์กรไม่มีการวางแผนให้มีผู้สืบทอดตำแหน่งในองค์กร (Succession Planning) ทำให้พนักงานในองค์กรขาดความตั้งใจ ขาดขวัญและกำลังใจที่ดีในการทำงาน ซึ่งหากผู้บริหารออกมาบอกว่าเอาละผู้ที่มีคุณสมบัติหรือความสามารถที่เหมาะสมที่จะมานั่งในตำแหน่งหัวหน้าแผนกเป็นอย่างไร แล้วกำหนดเกณฑ์การประเมินและคัดเลือกให้กับผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านในเบื้องต้นทุกคนทราบ จากนั้นแจ้งให้ทุกคนทราบว่าพวกเขาคือผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกเพื่อมาทำงานในตำแหน่งนี้ได้ แล้วให้เขาพิสูจน์ด้วยผลงานและความสามารถของเขาอย่างโปร่งใสแล้ว การได้รับการยอมรับของคนในองค์กรก็ย่อมเกิดขึ้น และผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งใหม่นั้นก็จะได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนๆ พนักงานด้วย



6. ขาดการจัดทำและแบ่งรายละเอียดของงาน (Job Description) ที่ชัดเจน ทำให้พนักงานแต่ละคนรู้ว่าตนเองทำงานหนักแต่ไม่รู้ว่างานนั้นเป็นงานที่อยู่ในข่ายการทำงานที่จะได้รับการประเมินผลงานของตนเองหรือไม่ ซึ่งการจัดทำรายละเอียดของงานที่ดีนอกจากจะทำให้ทราบถึงรายละเอียดว่างานของตนเองต้องทำอะไรบ้างแล้ว ยังสามารถบอกถึงเกณฑ์การประเมินผลงาน ผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำงาน ผู้ที่เขาจะต้องไปประสานงานด้วย ตลอดจนความรู้ความสามารถที่ตำแหน่งงานนั้นต้องการว่ามากน้อยขนาดไหน (Competency Based Job Description) เพื่อให้พนักงานผู้นั้นรู้ว่าตนเองจะต้องพัฒนามากน้อยเพียงใดเพื่อให้ทำงานได้ตามที่ตำแหน่งงานต้องการ นี่เป็นเพียงความคิดเห็นในมุมมองของผมซึ่งอาจจะไม่สมบูรณ์แบบที่สุด แต่ผมเชื่อว่าน่าจะมีส่วนเติมเต็มให้ภาพใน Presentation ข้างบนซึ่งเป็นเหตุการณ์ (Case) มีความสมบูรณ์ขององค์ความรู้เพื่อช่วยอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น